406 จำนวนผู้เข้าชม |
1. มีอาการปวด บวม เป็นหนอง: โดยเฉพาะฟันคุดที่โผล่ขึ้นมาในช่องปากบางส่วนแล้ว มักจะเป็นที่สะสมเศษอาหาร เพราะโดยส่วนใหญ่ฟันคุดมักจะขึ้นมาแบบผิดทาง ขึ้นมาเอียงๆ หรือขึ้นมาแล้วอยู่ต่ำกว่าซี่ข้างเคียง ทำให้ฟันคุดมักจะมีเหงือกคลุมอยู่บางส่วนและทำความสะอาดไม่ได้ เมื่อเราทานอาหาร มีเศษอาหารไปสะสม ฟันคุดอาจจะผุจนทะลุโพรงประสาท หรือเศษอาหารไปอัดอยู่ในเหงือก ทำให้เกิดอาการอักเสบ บวม เป็นหนอง เมื่อกัดฟัน ฟันคู่สบกระแทกโดน ก็เจ็บปวดจนเคี้ยวไม่ได้ ถ้าทิ้งไว้นาน ๆ หนองอาจลามไปส่วนอื่นของใบหน้า ทำให้เกิดอาการหน้าบวม ในบางรายอาจรุนแรงจนเป็นอันตรายต่อชีวิตได้
2. ฟันข้างเคียงผุ หรือรากละลาย: ฟันคุดมักเป็นที่สะสมของเศษอาหารและเชื้อโรค นอกจากจะทำให้ฟันคุดเองผุแล้ว มักจะทำให้ฟันข้างเคียงที่อยู่ด้านหน้าผุไปด้วย ซึ่งการผุของฟันข้างเคียง มักจะอุดยากมาก รวมไปถึงคนไข้มักรู้ตัวช้า รู้ตัวอีกทีคือเมื่อฟันผุลุกลามจนทะลุโพรงประสาทฟันและมีอาการปวดไปแล้ว ฟันข้างเคียงมักจะต้องรักษารากฟันไม่ก็ถอนออก นอกจากนี้ในบางราย ฟันคุดอาจไปดันรากฟันซี่ข้างเคียง ทำให้เกิดรากละลาย และปวดขึ้นมาได้
3.เกิดถุงน้ำในกระดูกขากรรไกร: แม้ว่าโอกาสที่พบอาจไม่สูงมากนัก แต่ฟันคุดที่ฝังในกระดูกมีโอกาสที่จะพัฒนาไปเป็นถุงน้ำ ซึ่งต้องเอาออกโดยการผ่าตัดภายใต้การดมยาสลบ หากไม่เอาฟันคุดออกจริง ๆ ควรพบทันตแพทย์ทุก 1 ปี เพื่อเอกซเรย์เช็คดูว่ามีการพัฒนาไปเป็นถุงน้ำหรือไม่
อ่านเพิ่ม
*ตรวจสอบ ราคาผ่าฟันคุด-ฟันฝัง
*ฟันกรามซี่สุดท้ายในบางราย อาจไม่จำเป็นต้องผ่าออกหากขึ้นได้ตรงเต็มซี่ จะใช้เพียงการ ถอนฟัน